โอเอ็มดีคลินิก
“ผู้ที่ป่วยก็อยากหายป่วย ผู้ที่สุขภาพดีอยู่แล้ว ก็อยากมีสุขภาพที่ดี แข็งแรงยิ่งๆขึ้นไป”
โอเอ็มดีสหคลินิกการแพทย์แผนไทย-จีน มีเป้าหมายหลักในการให้บริการเพื่อรักษา และป้องกัน ลดโอกาสการเกิดโรคของคนไทย โดยใช้ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน และการแพทย์ทางเลือก โดยเฉพาะการใช้สมุนไพร ยาสมุนไพร เพื่อการป้องกัน และรักษา ที่ได้รับการพัฒนาต่อยอด ให้มีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในระดับสูง โดยในปัจจุบันเราเปิดให้บริการมากกว่า 28 สาขาทั่วประเทศ
หมอแบงค์
พท.ป. กวินท์ มุ่งอาษา
ผู้จัดการฝ่ายแพทย์แผนไทย
B.ATM. (Applied Thai Traditional Medicine)
Faculty of Medicine Siriraj Hospital,
Mahidol University
นวดดึงดัดกระดูก
การนวดปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย
(Adjust Body Balance Massage)
การนวดปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย คำนึงถึงความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย และความสมบูรณ์ของโครงสร้าง ไปจนถึงการรักษาฟื้นฟูโครงสร้างที่นำไปสู่สุขภาพที่ดีโดยรวม โดยเน้นการปรับแนวโครงสร้างกระดูกสันหลังตลอดแนว ตั้งแต่ส่วนคอลงไปถึงก้นกบ และข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกาย ได้แก่ ข้อหัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า โดยอาศัยความรู้ทางด้านลักษณะโครงสร้างของร่างกาย (Structure) ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal System) และระบบประสาท (Nervous System)
หลักของการรักษาคือการจัดเรียงโครงสร้างให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูตนเองจากการเจ็บป่วย แนวทางการรักษานั้นจะนำเทคนิคการบำบัดข้อกระดูก (Joint) และการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ (Muscle) ด้วยวิธีการปรับ เพื่อทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ ขยับได้มุมองศาการเคลื่อนไหวปกติ (Range of Motion) และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องอาศัยยาและการผ่าตัด ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการรักษาแบบ Non-Invasive โดยการนวดปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายสามารถรักษาผู้ป่วยที่มีอาการต่าง ๆ ได้แก่ ผู้ที่มีอาการคอเคล็ด ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง อาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ คอ บ่า ไหล่ หลัง และแขน
นวดกดจุดรักษา
(Thai Therapeutic Massage)
เน้นการรักษาอาการผิดปกติหรือบำบัดความเจ็บปวดจากอาการเจ็บป่วย ซึ่งครอบคลุมอาการหลายแบบ เช่น อาการปวดเมื่อยจากภายนอก ปวดหลัง คอ บ่า ไหล่ อาการออฟฟิศซินโดรม ไปจนถึงอาการเจ็บป่วยจากภายใน เช่น กรดไหลย้อน ท้องผูก การผ่อนคลายความเครียดในผู้ป่วยไมเกรน นอนไม่หลับ หรือแม้กระทั่งการปรับสมดุลฮอร์โมนในผู้ที่เข้าวัยทอง แต่ไม่รวมถึงอาการผิดปกติจากการติดเชื้อ โรคมะเร็ง โรคผิวหนัง
โดยมีจุดนวดที่ใช้นวดเพื่อบรรเทารักษาโรค ซึ่งมีความแตกต่างไปตามแต่ละอาการ เช่น กรณีที่ปวดขา โดยส่วนมากแล้วจะมีสาเหตุมาจากหลัง ทำให้มีการนวดพื้นฐานขา พื้นฐานขาด้านใน พื้นฐานหลัง และมีชุดกดจุดการนวด หลัง สะโพก ขาด้านใน และอาจมีการดัดตึง แต่จะทำด้วยความระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บเพิ่มเติม ซึ่งการนวดจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อลดอาการตึงทำให้อาการปวดลดลง และการกดจุดเพื่อให้เลือดและน้ำเหลืองไหลเวียนสะดวก โดยภายหลังนวดอาจมีข้อแนะนำหลังการนวดให้ปฏิบัติตาม เพื่อที่อาการเจ็บป่วยจะได้ทุเลาโดยเร็วขึ้น
Sport massage
(Sport Massage)
เป็นการนวดที่ถูกออกแบบมาเพื่อนักกีฬา และผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนักโดยเฉพาะ มีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อทั้งในระดับตื้นและลึก (Superficial and Deep Muscle) กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต และช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นฟูจากอาการบาดเจ็บได้เร็วยิ่งขึ้น ลดอาการ DOMS (Delayed Onset Muscle Soreness) หรืออาการปวดกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย การนวดยังทำให้จิตใจผ่อนคลาย ทั้งก่อนและหลังการแข่งขันและการออกกำลังกาย
โดยการนวดสปอร์ต ประกอบด้วยการนวดหลายรูปแบบ โดยใช้เทคนิคในการนวดแบบต่าง ๆ ได้แก่ การลูบ (Effleurage) การบีบ (Petrissage) การกด (Friction) การเคาะ (Tapotement/Tapping) และการเขย่า (Vibration) โดยปรับใช้เทคนิคต่าง ๆ ให้เข้ากับความต้องการของแต่ละบุคคล ทั้งนี้อาจร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) และนวดปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย (Adjust Body Balance Massage) ร่วมด้วย
การนวดสปอร์ต ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่นักกีฬามืออาชีพ เนื่องจากสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ (Performance) ได้ ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่เป็นกลุ่มที่ใช้งานกล้ามเนื้อสะสม เช่น ออฟฟิศซินโดรม ก็สามารถรับบริการนวดสปอร์ตได้เพราะจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย
เผายา
การเผายาคือการนำสมุนไพรเช่น หัวไพล, ขิง, ช่า เป็นต้น มาตำรวมกัน แล้วนำไปวางบนท้องรอบสะดือแล้วใช้ผ้าเปียกทำเป็นวงกลมล้อมรอบ ใส่เกลือและน้ำมันสมุนไพรเล็กน้อย และใช้ผ้าอีกผืนคลุมทับอีกชั้นหนึ่งแล้วจุดไฟเผา
หลักการคือใช้ไฟเพื่อก่อให้เกิดความร้อนแก่ร่างกาย หรือบริเวณที่ต้องการรักษา มักใช้กับมัดกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ เช่น หน้าท้อง หน้าอก แผ่นหลัง หรือใช้เน้นรักษาเฉพาะจุด เช่น ข้อมือ หน้าเข่า หลังเข่า (โดยส่วนมากใช้เผายาบริเวณหน้าท้อง รอบสะดือ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของเส้นประธานสิบไปตามร่างกาย)
สามารถใช้บรรเทาอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย หรือกลุ่มกล้ามเนื้อและข้อต่อ เช่น อาการปวดเมื่อย ขยับข้อได้ไม่สะดวก
พอกเข่า – พอกยา
(Herbal Poultice/Masking)
การพอกยาด้วยสมุนไพรเป็นวิธีการรักษาทางแพทย์แผนไทย คือ การนำสมุนไพรที่มีสรรพคุณกระจายเลือดลมบริเวณข้อ เพิ่มไหลเวียนของเลือด ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ลดอาการบวม นำมาพอกบริเวณอวัยวะที่ปวดเป็นเวลา 15 – 20 นาที ช่วยรักษาอาการปวดและการอักเสบ มีทั้งยาฤทธิ์ร้อนและยาฤทธิ์เย็น ยาพอกสมุนไพรแก้ปวดลดการอักเสบ เป็นตำรับยาสมุนไพรไทยดั้งเดิมที่แพทย์แผนไทยใช้ในการรักษาผู้ป่วย โดยใช้พอกตามบริเวณข้อต่อกระดูกของร่างกาย เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อไหล่ หรือบริเวณแนวกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการปวด บวม อักเสบ
การประคบสมุนไพร
(Hot Herbal Compression)
เป็นการนำลูกประคบสมุนไพรสดหรือสมุนไพรแห้ง นึ่งให้ร้อน และนำมาประคบตามส่วนต่าง ๆของร่างกาย ส่วนใหญ่มักนิยมประคบหลังจากการนวด การประคบสมุนไพรจะช่วยส่งเสริมการนวดให้ผลการรักษาดีขึ้น ทั้งจากตัวยาสมุนไพร และความร้อน การประคบสมุนไพรมีประโยชน์ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยลดอาการบวม บรรเทาการอักเสบของกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ในหญิงหลังคลอดช่วยลดอาการตึงคัดของเต้านมด้วย โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาทีต่อการประคบ 1 ครั้ง
หมอโบกี้
พจ. กษิดิ์เดช เพลินอักษร
ผู้จัดการฝ่ายแพทย์แผนจีน
School of Integrative Medicine, Mae Fah Luang University
ฝังเข็ม
ซึ่งเส้นลมปราณนี้ หากการไหลเวียนไม่คล่องตัวหรือติดขัด อาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ หรืออาการต่างๆ เช่น อาการปวดตามร่างกาย ความเครียด ปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดตามข้อ ข้ออักเสบ ภูมิแพ้ นอนหลับยาก แถมยังก่อให้เกิดปัญหาผิวอย่าง สิว ฝ้า หรือใบหน้าหมองคล้ำอีกด้วย
ครอบแก้ว
หลังการครอบแก้ว ตรงบริเวณผิวหนังที่ถูกการครอบแก้ว การดูดของสุญญากาศอาจทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณใต้ผิวหนังขยายตัวหรือแตกออก จนเกิดเป็นรอยเป็นจ้ำๆ สีม่วงหรือสีดำให้เห็นอยู่บ้าง แต่จะหายไปเอง โดยไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อร่างกาย
กัวซา (刮痧)
การแมะ
ฝังเข็ม
ฝังเข็มเพื่อความงาม
หมอจูน
พท.ป. ฉัตรรวี บุตรโชติ
ผู้จัดการฝ่าย Ayurveda and Wellness
B.ATM. (Applied Thai Traditional Medicine)
Thai Traditional Medicine College, Rajamangala University of Technology Thanyaburi
Kati Dhara (คาติดารา)
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง กล้ามเนื้อหลังแข็งเกร็ง ปวดหลังส่วนล่าง หรือผู้ที่ต้องการผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณหลัง
Shiro Dhara (ชิโรดารา)
เหมาะสำหรับผู้ที่นอนไม่หลับ ผู้มีความเครียดรวมไปถึงช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรน